แนวโน้มของการศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และการสอนอิสลามศึกษาควรมีลักษณะอย่างไร
บรรดาสิ่งที่อัลลอฮสร้างขึ้น ชีวิตมนุษย์แตกต่างไปจากสรรพสิ่งอย่างอื่นอย่างเห็นได้ชัด มนุษย์มีสาระ2 ประการ คือ ทางชีววิทยากับสังคมวิทยา สาระทางชีววิทยาก็คือ มนุษย์ดำรงรักษาและถ่ายทอดโดยการผสมพันธุ์และให้กำเนิด ส่วนสาระทางสังคมของชีวิตมนุษย์ก็คือ ดำรงและถ่ายทอดโดยการศึกษา "แล้วการศึกษาคืออะไรเล่า?" นี่เป็นคำถามเบื้องต้นที่เป็นเครื่องฝึกฝนจิตใจของนักปรัชญาและนักคิดทั้งหลายตั้งแต่โสคราตีส เพลโต อริสโตเติล เรื่อยลงมาถึงยุคของจอร์น ดิวอี้ บอกตรงๆว่าคำว่า "การศึกษา" นี้มีความหมายกว้างขวางและให้คำจำกัดความเหมาะเจาะอย่างยิ่ง นักชีววิทยา นักบวช นักจิตวิทยา นักปรัชญา นักการศาสนา รัฐบุรุษ ครู พ่อค้า คนขายของ หรือแม้แต่ช่างศิลป์ ต่างให้คำจำกัดความแตกต่างกันมากเพลโต กล่าวว่า"การศึกษา" คือ "การพัฒนาของร่างกายและวิญญาณในความงามและสมบูรณ์ทุกประการเท่าที่เขาสามารถกระทำ"อริสโตเติล กล่าวว่า "การศึกษาพัฒนาคุณวุฒิความสามารถของคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางจิตใจ เพื่อว่าคนสามารถชื่นชมความจริง ความงาม ความดี อันเป็นความสุขที่สมบูรณ์ที่สุด"
การศึกษาค้นคว้าหาความรู้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมวลมนุษยชาติ ซึ่งในสภาวการณ์ปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่าทุกสังคมทุกประเทศชาติกำลังให้ความสำคัญกับการศึกษา การศึกษาในปัจจุบันได้มีการแข่งขันเป็นอย่างสูง แต่ถึงกระนั้นก็ตามแนวโน้มการศึกษาที่เราจะพูดต่อไปนี้คือแนวโน้มการศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และการสอนอิสลามศึกษาในอนาคต
การศึกษาค้นคว้าหาความรู้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมวลมนุษยชาติ ซึ่งในสภาวการณ์ปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่าทุกสังคมทุกประเทศชาติกำลังให้ความสำคัญกับการศึกษา การศึกษาในปัจจุบันได้มีการแข่งขันเป็นอย่างสูง แต่ถึงกระนั้นก็ตามแนวโน้มการศึกษาที่เราจะพูดต่อไปนี้คือแนวโน้มการศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และการสอนอิสลามศึกษาในอนาคต
สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นสังคมที่มีความหลาหลายทางศาสนาและวัฒนธรรมหรือสังคมพหุวัฒนธรรม(Multi culture)ซึ่งในปัจจุบันการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตก เห็นได้อย่างชัดเจนแต่ถึงกระนั้นก็ตามเนื่องจากปัจจัยหลายอย่างๆทำให้พื้นที่นี้จะมีรูปแบบการศึกษาที่แตกต่างไปจากพื้นที่อื่นๆของประเทศโดยเฉพาะในเรื่องของศาสนา ผู้ปกครองมักนิยมส่งบุตรหลานเรียนศาสตร์ทางด้านศาสนาจึงทำให้โรงเรียนปอเนาะและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาเข้ามามีบทบาทสูงต่อการศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทำให้การขยายตัวของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแต่ขยายลงไปในระดับการศึกษาที่ต่ำกว่าโรงเรียนมัธยมเริ่มเปิดระดับประถมศึกษาแต่ในทางกลับกันจะไม่มีการเพิ่มในระดับที่สูงขึ้นหรือระดับอุดมศึกษา แต่ถึงกระนั้นก็ตามวิชาการทางด้านสามัญของโรงเรียนเอกชอนสอนศาสนามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตกต่ำเนื่องจากค่าตอบแทนครูและค่าสมนาคุณต่างๆต่ำกว่าจึงจำเป็นต้องดิ้นรนสอบบรรจุเข้าโรงเรียนของรัฐเพราะค่าตอบแทนต่างๆดีกว่าส่วนโรงเรียนเอกชนก็รับครูใหม่ๆพึ่งจบมามาสอนเสมอและที่สำคัญการจัดการเรียนการสอนของเด็กรายวิชามีมากกว่าโรงเรียนสามัญทั่วๆไปทำให้การศึกษาของเด็กในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาหนักกว่าซึ่งบางครั้งเพิ่มความเครียดให้กับให้กับเด็ก
ซึ่งแนวโน้มการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความเหลื่อมล้ำหรือบางครั้งกลับถดถอยไปจากเดิมด้วยซ้ำไป ด้วยความไม่พร้อมทางด้านต่างๆยิ่งในปัจจุบันรัฐบาลพยายามส่งเสริมให้มีหลักสูตรท้องถิ่นหรือหลักสูตรสถานศึกษาทั่วประเทศจะมีหลักสูตรที่ไม่เหมือนกัน ในทางกลับกันในเมืองหรือภาคอื่นๆที่มีความพร้อมกว่า จึงมีการพัฒนาหรือคุณภาพการศึกษามีสูงกว่าสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมหรือช่องโหว่ของการจัดการเรียนการสอนซึ่งเราสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนจากประเทศเพื่อนบ้านของเรานั่นก็คือประเทศมาเลเซียซึ่งทั้งประเทศจะมีหลักสูตรเหมือนกันทั้งประเทศและที่สำคัญที่จะส่งผลมากที่สุดการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาซึ่งในพื้นที่อื่นๆจะไม่มีรายวิชานี้แต่พอสามจังหวัดชายแดนภาคใต้กลับมีวิชาศาสนาเพิ่มเท่ากับวิชาสามัญซึ่งบางครั้งในสภาวการณ์อย่างสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นควรมีการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาแบบอิสลามานุวัตรองค์ความรู้(Islamization of knowledge)เป็นการบูรณาการเชิงเนื้อหาซึ่งบางครั้งมันยากต่อการปฏิบัติด้วยปัจจัยหลายๆอย่างและอีกประเด็นหนึ่งที่กล่าวในที่นี้ก็คือการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มุ่งเน้นหรือปลูกฝังในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมมากกว่าในพื้นที่อื่นๆโดยเฉพาะคุณธรรมจริยธรรมตามรูปแบบอิสลามหรือครรลองอิสลามการจัดการเรียนการสอนอิสลามในปัจจุบันและมีแนวโน้มในอนาคตว่าจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพราะครูผู้ที่ทำหน้าที่สำคัญที่สุดในการจัดกระบวนการจัดการเรียนการสอนเกือบจะทั้งหมดเป็นแค่ครูอัตราจ้างสอนอิสลามศึกษาจึงมักนิยมสอบบรรจุเพื่อเข้ารับราชการเพื่อความเจริญในวิชาชีพและความก้าวหน้าของอนาคตในขณะที่ตัวเองจบปริญญาตรีทางด้านอิสลามแต่พอสอบบรรจุกลับต้องสอบเข้าเอกสังคมศึกษาพอสอบได้ก็ต้องไปสอนสังคมศึกษาวิชาความรู้ที่ตัวเองได้ร่ำเรียนมากลับเปล่าประโยชน์ในขณะที่ครูผู้สอนพระพุทธศาสนากลับเป็นข้าราชการในทางกลับกันผู้ที่เข้ามาเป็นครูผู้สอนอิสลามจึงกลายมาเป็นคนที่จบปริญญาตรีสาขาอื่นๆที่บางครั้งไม่เกี่ยวกับการศึกษาด้วยซ้ำไปแต่มีวุฒิศาสนาจบชั้นซานาวีย์ซึ่งโดยสัจธรรมแล้ววุฒิชั้นซานาวีย์นั้นความรู้ไม่เพียงพอที่จะมาสอนอิสลามศึกษาในระดับตอนกลางแต่ด้วยระเบียบจากข้างบนลงอย่างนั้นทำให้ผู้ใช้ระเบียบจึงต้องทำตามกฏระเบียบนั้นๆซึ่งแตกต่างจากวิชาอื่นที่ผู้สอนต้องจบปริญญาตรีขึ้นไปเท่านั้นที่สามารถจะทำการสอนในสถานศึกษาได้นี้คือความแตกต่างหรือความแตกต่างของมาตรฐานของการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้กลายเป็นช่องโหว่การศึกษาไทยกลับกลายเป็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขมิหนำซ้ำจะเป็นปัญหาที่จะเรื้อรังไปในอนาคตแต่เป็นที่น่าเสียดายรัฐบาลกลับแก้ไขการศึกษาที่ผิดไปจากข้อเท็จจริงหรือแก้ไขผิดจุด เอาคนที่จบสาขาอื่นมาเป็นครูผู้สอนอิสลามศึกษาซึ่งบุคคลเหล่ารอโอกาสที่จะออกไปสอนวิชาที่ตัวเองจบมาอยู่แล้วพอมีโอกาสก็ออกไปทำให้ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นมีการรับสมัครครูผู้สอนอิสลามศึกษามากเป็นพิเศษ
สุดท้ายนี้ผมขอสรุปเรื่องการสอนอิสลามศึกษาควรมีลักษณะอย่างไร ผมก็ยังยืนยันเหมือนเดิมว่ากระแสอิสลามานุวัตรองค์ความรู้(Islamization of knowledge) ซึ่งในตามทฤษฎีนั้นคำๆนี้อย่างไม่เป็นที่แพร่หลายมากนักแต่ในทางปฏิบัติคำนี้เกิดขึ้นในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาแต่นั่นเป็นการบูรณาการเชิงโครงสร้างซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณอย่างมหาศาลแต่การบูรณาการที่สังคมคาดหวัง ต้องการในที่นี้คือการบูรณาการเชิงเนื้อหา เป็นการบูรณการแบบหลอมรวมระหว่างศาสตร์ทางด้านสามัญและศาสนาไม่ใช่การแยกเป็นสหวิทยาการอย่างชัดเจนระหว่างสามัญและศาสนา